วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554




กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในสังคมมีอะไรบ้าง
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ กำหนดให้ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ - กรณีที่มีเด็กเกิดในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด ถ้าอยู่นอกเขตเทศบาลให้ไปแจ้งต่อกำน ัน ณ ที่ทำการกำนันประจำตำบล กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน เช่น เกิดที่บ้านญาติ เกิดในรถหรือเรือโดยสาร หรือเกิดในป่า ผู้ที่ม ีหน้าที่แจ้งการเกิดคือมารดาของเด็ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดในกรณีจำเป็นที่ไม่อาจแจ้งได้ภายในกำหนด ให้แจ้งภา ยในเวลาไม่เกิน ๑๕ วัน นับแ ต่วันที่อาจแจ้งได้ คลอดลูกในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการแจ้งให้และจะออกใบรับรองการเกิดให้บิดามารดา - กรณีที่มีคนตาย คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ถ้า ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้ที่พบศพไปแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ กรณีตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้ พบศพ แจ้งต่อน ายทะเบียนท้องที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่สะดวกกว่าก็ได้ - การย้ายที่อยู่ เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก กรณีย้ายเ ข้า เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้าเช่นกัน อนึ่ง การแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนตนก็ได้ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖กำหนดให้บุคคลที่มีสัญชาติไทย ซี่งมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๗๐ ปี บริบูรณ์ ต้องมี บัตรประจำตัวประชาชน (ยกเว้นบุคคลที่ได้รับยกเว้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งออกตามคว ามในพระราชบัญญัตินี้) การยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ไปยื่นเรื่อง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอในท้องที่ที่ ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่มีอายุครบกำหนด ๑๕ ปีบริบูรณ์ เมื่อได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว หากมีการเป ลี่ยนชื่อต ัว ชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล อนึ่ง บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ ๖ ปี เมื่อบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้จนถึงวันครอบรอบวันเกิด จากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันครอบวันเกิด ในกรณีบัตรสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่บัตรหาย หรือถูกทำลาย หรือกรณีที่บัตรชำรุด พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ชายไทยทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปีในพ.ศ. ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายใน พ.ศ. นั้น โดยไปแจ้งต่อสัสดีอำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ จะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทนก็ได้ ทหารกองเกิน เมื่อมีอายุ ๒๑ ปี ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ. นั้น ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน และทหารกอ งเกินซึ่งถูกเรียกจะต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ตามวันเวลาที่ทางราชการกำหนดโดยนำใบสำคัญทหารกอง เกิน บัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย มิฉะนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย บุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ได้แก่ ๑. สามเณรซึ่งสอบเปรียญได้แล้ว ๒. ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างควบคุมหรือคุมขังของเจ้าพนักงาน บุคคลบางประเภทแม้จะได้ไปลงบัญชีทหารกองเกินไว้ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ถูกเรียก ต้องมารับการตรวจเลือก เช่น พระภิกษุ ส ามเณร นักบวช ผู้ที่อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร ครู บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ฯลฯ






กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น
ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก
เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมารวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่มหนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด


กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ


ความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้ กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้


ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา

2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน

2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้

กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้