วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


การปกครองแบบสุโขทัย ♥


เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี (หัวเมืองชั้นใน)
คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑลเรียกว่า เมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวงกับราชธานี นั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การคมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานี ดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้น เพราะทำให้รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวมกันเป็นกองทัพหลวง
เมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัย ถ้าระบุเมืองในครั้งนั้น ก็คือก. เมืองสุโขทัย เป็นตัวราชธานีข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านเหนือ มีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)เป็นเมืองที่พระมหาอุปราชหรือเรียกง่ายๆว่าเมืองอุปราชซึ่งมีอยู่เมืองเดียวในสมัยกรุงสุโขทัยและชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่ขุนบาลเมืองเป็นพระมหากษัตริย์ และแต่งตั้งพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เป็นอุปราชไปครองเมืองศรีสัชชนาลัยมีฐานะสูงเกือบเท่าราชธานี
ด้านตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ด้านใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ด้านตะวันตก เมืองกำแพงเพชร
เขตการปกครองแบบ เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก)
คือ เมืองใหญ่ ๆ นอกราชธานีออกไปเรียกว่า เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก เมืองหนึ่งๆมีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่ หลายเมืองเจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานคร เมืองหนึ่งๆ ก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่ง เมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้งสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช มีดังนี้
ทิศใต้ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์
เมืองตะนาวศรี
ทิศเหนือ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ
เมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็นเจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น เขตการ
ปกครองแบบ เมืองประเทศราช
คือ เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร อันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่ง พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลาเกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้น
เมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราชสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้
ทางทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทางทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองน่าน เมืองเซ่า(คือเมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น