กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในสังคมมีอะไรบ้าง
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ กำหนดให้ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ - กรณีที่มีเด็กเกิดในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด ถ้าอยู่นอกเขตเทศบาลให้ไปแจ้งต่อกำน ัน ณ ที่ทำการกำนันประจำตำบล กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน เช่น เกิดที่บ้านญาติ เกิดในรถหรือเรือโดยสาร หรือเกิดในป่า ผู้ที่ม ีหน้าที่แจ้งการเกิดคือมารดาของเด็ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดในกรณีจำเป็นที่ไม่อาจแจ้งได้ภายในกำหนด ให้แจ้งภา ยในเวลาไม่เกิน ๑๕ วัน นับแ ต่วันที่อาจแจ้งได้ คลอดลูกในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการแจ้งให้และจะออกใบรับรองการเกิดให้บิดามารดา - กรณีที่มีคนตาย คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ถ้า ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้ที่พบศพไปแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ กรณีตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้ พบศพ แจ้งต่อน ายทะเบียนท้องที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่สะดวกกว่าก็ได้ - การย้ายที่อยู่ เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก กรณีย้ายเ ข้า เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้าเช่นกัน อนึ่ง การแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนตนก็ได้ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖กำหนดให้บุคคลที่มีสัญชาติไทย ซี่งมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๗๐ ปี บริบูรณ์ ต้องมี บัตรประจำตัวประชาชน (ยกเว้นบุคคลที่ได้รับยกเว้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งออกตามคว ามในพระราชบัญญัตินี้) การยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ไปยื่นเรื่อง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอในท้องที่ที่ ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่มีอายุครบกำหนด ๑๕ ปีบริบูรณ์ เมื่อได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว หากมีการเป ลี่ยนชื่อต ัว ชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล อนึ่ง บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ ๖ ปี เมื่อบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้จนถึงวันครอบรอบวันเกิด จากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันครอบวันเกิด ในกรณีบัตรสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่บัตรหาย หรือถูกทำลาย หรือกรณีที่บัตรชำรุด พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ชายไทยทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปีในพ.ศ. ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายใน พ.ศ. นั้น โดยไปแจ้งต่อสัสดีอำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ จะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทนก็ได้ ทหารกองเกิน เมื่อมีอายุ ๒๑ ปี ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ. นั้น ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน และทหารกอ งเกินซึ่งถูกเรียกจะต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ตามวันเวลาที่ทางราชการกำหนดโดยนำใบสำคัญทหารกอง เกิน บัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย มิฉะนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย บุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ได้แก่ ๑. สามเณรซึ่งสอบเปรียญได้แล้ว ๒. ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างควบคุมหรือคุมขังของเจ้าพนักงาน บุคคลบางประเภทแม้จะได้ไปลงบัญชีทหารกองเกินไว้ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ถูกเรียก ต้องมารับการตรวจเลือก เช่น พระภิกษุ ส ามเณร นักบวช ผู้ที่อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร ครู บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ฯลฯ
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ กำหนดให้ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ - กรณีที่มีเด็กเกิดในบ้าน เจ้าบ้านต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิด ถ้าอยู่นอกเขตเทศบาลให้ไปแจ้งต่อกำน ัน ณ ที่ทำการกำนันประจำตำบล กรณีเด็กเกิดนอกบ้าน เช่น เกิดที่บ้านญาติ เกิดในรถหรือเรือโดยสาร หรือเกิดในป่า ผู้ที่ม ีหน้าที่แจ้งการเกิดคือมารดาของเด็ก หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิดหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดในกรณีจำเป็นที่ไม่อาจแจ้งได้ภายในกำหนด ให้แจ้งภา ยในเวลาไม่เกิน ๑๕ วัน นับแ ต่วันที่อาจแจ้งได้ คลอดลูกในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการแจ้งให้และจะออกใบรับรองการเกิดให้บิดามารดา - กรณีที่มีคนตาย คนตายในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ถ้า ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้ที่พบศพไปแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาพบศพ กรณีตายนอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้ พบศพ แจ้งต่อน ายทะเบียนท้องที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่สะดวกกว่าก็ได้ - การย้ายที่อยู่ เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายออก กรณีย้ายเ ข้า เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้าเช่นกัน อนึ่ง การแจ้งการเกิด การตาย การย้ายที่อยู่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนตนก็ได้ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖กำหนดให้บุคคลที่มีสัญชาติไทย ซี่งมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๗๐ ปี บริบูรณ์ ต้องมี บัตรประจำตัวประชาชน (ยกเว้นบุคคลที่ได้รับยกเว้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งออกตามคว ามในพระราชบัญญัตินี้) การยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ไปยื่นเรื่อง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอในท้องที่ที่ ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ภายในกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันที่มีอายุครบกำหนด ๑๕ ปีบริบูรณ์ เมื่อได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว หากมีการเป ลี่ยนชื่อต ัว ชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล อนึ่ง บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ ๖ ปี เมื่อบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้จนถึงวันครอบรอบวันเกิด จากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันครอบวันเกิด ในกรณีบัตรสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่บัตรหาย หรือถูกทำลาย หรือกรณีที่บัตรชำรุด พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ชายไทยทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปีในพ.ศ. ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายใน พ.ศ. นั้น โดยไปแจ้งต่อสัสดีอำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ถ้าไม่สามารถไปด้วยตนเองได้ จะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทนก็ได้ ทหารกองเกิน เมื่อมีอายุ ๒๑ ปี ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ. นั้น ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน และทหารกอ งเกินซึ่งถูกเรียกจะต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ตามวันเวลาที่ทางราชการกำหนดโดยนำใบสำคัญทหารกอง เกิน บัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย มิฉะนั้นจะมีโทษตามกฎหมาย บุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ได้แก่ ๑. สามเณรซึ่งสอบเปรียญได้แล้ว ๒. ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างควบคุมหรือคุมขังของเจ้าพนักงาน บุคคลบางประเภทแม้จะได้ไปลงบัญชีทหารกองเกินไว้ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ถูกเรียก ต้องมารับการตรวจเลือก เช่น พระภิกษุ ส ามเณร นักบวช ผู้ที่อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร ครู บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น